บริษัท เอ. แอนด์ มารีน เป็นตัวแทนของ Sagem ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Safran Electronics and Defense

12783606_1144654892220377_415508075214517391_o

ตามที่ กองทัพเรือได้ลงนามในสัญญาจ้างสร้างเรือฟริเกต เลขที่ SEA-5661-04 ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๖ ว่าจ้างบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering Co., Ltd. (DSME) สร้างเรือฟริเกต จำนวน ๑ ลำพร้อมระบบอุปกรณ์อะไหล่ เครื่องมือส่วนสนับสนุน การทดสอบทดลองการฝึกอบรบการถ่ายทอดเทคโนโลยี เอกสารและข้อมูล การตรวจรับและส่งมอบ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดนในผนวก ๕ ของสัญญาฯ กำหนดให้ติดตั้งเข็มทิศไยโน ( RING LASER GYRO) แบบ MINS-II ตราอักษร Raytheon Anschutz จำนวน ๒ ชุด โดยบริษัท DSME ได้สั่งซื้อเข็มทิศไยโรตราอักษร Raytheon Anschutz แบบ MINS-II 4000 จากบริษัท Raytheon สหรัฐอเมริกา

บริษัท Boeing สหรัฐอเมริกา ในฐานะผู้ติดตั้งระบบอาวุธปล่อยนำวิธีแบบ Harpoon Block II ไม่แนะนำให้ใช้ เข็มทิศไยโร ตราอักษร Raytheon Anschutz แบบ MINS-II 4000 เนื่องจากไม่สามารถส่งค่าเอาต์พุตพารามิเตอร์ให้ระบบอาวุธปล่อยฯ ได้ตามเกณฑ์ ซึ่งจะทำให้ลดทอนขีดความสามารถของอาวุธปล่อยฯและเสนอให้ใช้เข็มทิศไยโร ตราอักษร Sagem รุ่น Sigma 40 แทน

บริษัท DSME ได้ ตรวจสอบคุณลักษณะและผลกระทบของเข็มทิศไยโรตราอักษร Sagem รุ่น Sigma 40 แล้ว พบว่า สามารถส่งข้อมูลให้ระบบอาวุธปล่อยฯ ได้ตามเกณฑ์ และไม่ส่งผลกระทบต่อการเชื่อมต่อระบบหรืออุปกรณ์อื่นๆ รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบด้านงบประมาณและระยะเวลาการส่งมอบเรือโดยต่อมาบริษัท DSME ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันที่จะยินดีคืนเงินในกรณีที่ ทร. ตรวจพบในภายหลังว่า อุปกรณ์ใหม่ที่จะนำมาเปลี่ยนมีราคาต่ำกว่าอุปกรณ์เดิม

กองทัพเรือพิจารณาแล้วว่า การเปลี่ยนเข็มทิศไยโรตามข้างต้น มีสาเหตุมาจากเข็มทิศไยโรตราอักษร Raytheon Anschutz แบบ MINS-II ที่ระบุไว้ในสัญญาฯ ไม่สามารถส่งค่าเอาต์พุตพารามิเตอร์ให้ระบบอาวุธปล่อยฯ ได้ตามเกณฑ์ ซึ่งจะทำให้ลดทอนขีดความสามารถของอาวุธปล่อยฯ และจะส่งผลกระทบต่อขีดสมรรถนะหลักของเรือ ซึ่งบริษัทที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบแล้วว่า ไม่มีเข็มทิศไยโรตราอักษร Raytheon Anschutz แบบ MINS-II รุ่นอื่นๆ ที่สามารถใช้งานร่วมกับระบบอาวุธปล่อยฯ ของเรือฟริเกตได้ ดังนั้นกองทัพเรือ จึงอนุมัติให้แก้ไขสัญญาจ้างสร้างเรือฟริเกต เลขที่ SEA-5661-04 ลง ๗ ส.ค. ๕๖ เพื่อเปลี่ยนเข็มทิศไยโรของเรือฟริเกต จากเดิม
“ตราอักษา Raytheon Anschutz แบบ MINS-II ” เป็น “ตราอักษร Sagem รุ่น Sigma 40”

Safran ฝรั่งเศสประสบความสำเร็จในการทดสอบระบบนำร่อง Sigma 40 กับอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon สำหรับกองทัพเรือไทย

marinethai-%e0%b8%9f%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%95-dw3000h

งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ทางเรือ Euronaval 2016 ที่จัดขึ้นที่ศูนย์จัดแสดง Le Bourget ใน Paris ระหว่างวันที่ ๑๗-๒๑ ตุลาคมที่ผ่านมานั้น
บริษัท Safran Electronics & Defense ฝรั่งเศสได้ประกาศความสำเร็จในการบูรณาการติดตั้งทดสอบระบบนำร่องประจำเรือผิวน้ำแบบ Sigma 40 เชื่อมโยงกับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing AGM-84 Harpoon Block II เพื่อสำหรับนำมาใช้งานกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ ที่กำลังดำเนินการสร้างในไทย และเรือฟริเกตสมรรถนะสูงที่กำลังดำเนินการสร้างที่สาธารณรัฐเกาหลี ของกองทัพเรือไทย

11351340_10155777581280790_8646341094162109980_n

การทดสอบนี้เป็นไปตามสัญญาที่ลงนามไว้ระหว่างบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลีเจ้าของแบบเรือฟริเกต DW3000H(มีพื้นฐานจากเรือพิฆาต KDX-I) ร่วมกับบริษัท Boeing สหรัฐฯผู้รับสัญญาหลักของอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon Block II ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัท DSME เกาหลีใต้ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัญญาในการสร้างเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำแรกให้กองทัพเรือไทยได้เลือกระบบนำร่องเข็มทิศ Laser Gyro แบบ Raytheon Anschutz MINS-II 4000 สำหรับติดตั้งในเรือฟริเกตไทย แต่ทางบริษัท Boeing สหรัฐฯได้แนะนำให้เปลี่ยนเป็นระบบนำร่องเข็มทิศ Laser Gyro แบบ Safran Sigma 40 แทน เนื่องจากเข็มทิศไยโร MINS-II 4000 นั่นไม่สามารถส่งค่าข้อมูลให้ Harpoon II ได้ครบทุกค่าซึ่งจะลดทอนขีดความสามารถของระบบอาวุธปล่อยนำวิถี ดังนั้นทาง DSME จึงได้มีการมีการปรับเปลี่ยนสัญญาในส่วนงบประมาณและระยะเวลาให้กองทัพเรือไทยเห็นชอบในการเปลี่ยนมาใช้ระบบนำร่อง Safran Sigma 40 กับเรือตั้งแต่วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖(2013) แล้ว

นอกจากเรือฟริเกตสมรรถณะสูงที่กำลังต่อที่อู่ต่อเรือ Okpo-Dong ของ DSME นั้น กองทัพเรือไทยจะมีการติดตั้งระบบนำร่อง Sigma 40 กับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ ซึ่งกำลังดำเนินการก่อสร้างในไทยด้วยโดยโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝรั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ นั้นยังคงใช้แบบเรือ 90m OPV(Offshore Patrol Vessel) ตามสิทธิบัตรของบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร ที่บริษัทอู่กรุงเทพ(Bangkok Dock) ไทยจัดซื้อมาซึ่งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒นี้ มีการปรับปรุงแบบเพิ่มเติมจาก ร.ล.กระบี่ ที่สำคัญคือการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing RGM-84 Harpoon Block II จำนวน ๘ นัดบนเรือ ทั้งนี้จากความสำเร็จในการบูรณาการทดสอบ ระบบนำร่อง Sigma 40 นั่นมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือสูง ง่ายต่อการติดตั้ง โดยพร้อมที่จะถูกนำมาติดตั้งใช้งานบนเรือรบของกองทัพเรือไทยได้ทุกลำ

%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%9f%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%95-dw3000h-marinethai

Safran Sigma 40 เป็นระบบนำร่องแรงเฉื่องแบบเข็มทิศไยโร Laser(RLG: Ring Laser Gyro) ซึ่งมีความแม่นยำและยืดหยุ่นสูง มีขนาดกะทัดรัดพร้อมส่วนอุปกรณ์และชุดคำสั่งที่ปรับเปลี่ยนได้ สำหรับการนำร่องเรือและรักษาเสถียรภาพระบบตรวจจับและระบบอาวุธบนเรือระบบนำร่องแรงเฉื่อยในตระกูล Sigma ได้ถูกนำไปติดตั้งบนเรือรบของกองทัพเรือชั้นนำหลายประเทศทั่วโลกแล้วมากกว่า ๕๐๐ลำ เช่น เรือบรรทุกเครื่องบิน Charles de Gaulle กองทัพเรือฝรั่งเศส, เรือฟริเกตชั้น Horizon และเรือฟริเกตแบบ FREMM กองทัพเรือฝรั่งเศสและกองทัพเรืออิตาลี,เรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบชั้น Ula กองทัพเรือนอร์เวย์, เรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบชั้น Collins กองทัพเรือออสเตรเลีย เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าแบบ Scorpene และเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Barracuda กองทัพเรือฝรั่งเศส เป็นต้นครับ

Cr. คุณ เอกพล นาคพุ่ม

ที่มา http://aagth1.blogspot.com/2016/10/safran-sigma-40-harpoon.html
ที่มา http://www.namo.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/3184