ระบบบริหารจัดการท่าเรือ

การบริหารจัดการท่าเรือ

การบริหารจัดการท่าเรือ

บริษัท เอ. แอนด์ มารีน (ไทย) จำกัด ได้ขยายธุรกิจการให้บริการรับจ้างเหมา การบริการจัดดการท่าเรือ สำหรับเรือบรรทุกสินค้าทั่วไป สินค้าน้ำมัน เคมีและแก๊ส รวมถึงการบริหารจัดการระบบคลังเก็บสินค้า และการขนส่งสินค้าทั้งทางบกและทางทะเล ด้วยประสบการณ์ ศักยภาพ และบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในงาน บริการด้านระบบการขนส่ง (Logistics) โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ ทำให้ลูกค้าของบริษัทฯ สามารถตรวจสอบติดตามกิจกรรมต่างๆ ภายในบริเวณท่าเรือหรือท่าเทียบเรือและคลังเก็บสินค้าได้ตลอดเวลา

บริษัทฯ มีทีมบุคลากรที่มีความสามารถ มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในการให้บริการด้านบริหารจัดการท่าเรือ ท่าเทียบเรือและคลังสินค้าเป็นอย่างดี โดยสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงครอบคลุมด้านต่างๆ ดังนี้
1. เป็นที่ปรึกษาในเรื่องระบบการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ และดำเนินการให้เป็นไปตามประมวลกฎหมาย ข้อกำหนดสากลว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ (ISPS Code) ประกอบด้วยทำการประเมินการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ, จัดทำแผนการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ, ฝึกอบรมพนักงานท่าเรือในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือตามแผนรักษาความปลอดภัย และติดต่อประสานงานกับส่วนราชการ ในการตรวจระบบการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือ และดำเนินการจนได้รับใบรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
2. วางระบบการบริหารจัดการท่าเทียบเรือ คลังสินค้าและคลังน้ำมัน ให้มีมาตรฐานตาม OCIMF
3. เป็นที่ปรึกษาและควบคุมงานซ่อม/สร้าง ท่าเรือ ท่าเทียบเรือให้เป็นไปตามกฎข้อบังคับสากล
4. บริหารจัดการงานท่าเทียบเรือและคลังสินค้าทุกประเภทที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี
5. รับเป็นที่ปรึกษาและประสานงานด้านการค้ากับท่าเรือต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาค

ผลงานสำคัญต่างๆ ของบริษัทฯ ที่เคยรับงานจ้างเหมาบริหารจัดการท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยอง ให้กับ การนิคมแห่งประเทศไทย
มีดังต่อไปนี้

1. ระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (Vessel Traffic Management System: VTMS) จัดให้มีพนักงานปฏิบัติงานตลอดเวลาครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบรอบบริเวณท่าเรือ ร่องน้ำ และบริเวณใกล้เคียงติดต่อสื่อสารโดยใช้ระบบวิทยุสื่อสารทางทะเล ด้วยระบบบริการจราจรเรือ (VTS – Vessel Traffic Service) ประสานการดำเนินการให้เรือที่จะเข้าเทียบท่าจอดรอไม่เกิน 24 ชั่วโมง ดูแลและให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบช่วยการเดินเรือ (Aid to Navigation) และระบบตรวจวัดสภาพอากาศ อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำแก่ผู้เกี่ยวข้องในการนำเรือเข้าออก และการปฏิบัติงานในอาณาบริเวณท่าเรือ

การบริหารจัดการท่าเรือ

ไทยรัฐออนไลน์ 26 ก.ย. 2556 12:26

กนอ.ตั้งเป้ายกระดับนิคมฯมาบตาพุดเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ชูมาตรฐานการจัดระเบียบจราจรในท่าเทียบเรือสู่ระดับสูงสุด…

เมื่อวันที่ 26 ก.ย. นายวิฑูรย์ อยู่ทิม ผู้ช่วยผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กนอ. กล่าวว่า กนอ.ตั้งเป้ายกระดับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีดุลยภาพและยั่งยืน โดยพยายามนำปัญหาที่เกิดขึ้นการการบริหารจัดการมาวิเคราะห์ข้อบกพร่อง ก่อนออกเป็นกฎระเบียบเพื่อแก้ไขและป้องกันในระยะยาว

ขณะที่การจราจรภายในท่าเทียบเรือ ศูนย์ประสานและอำนวยความสะดวกในการเดินเรือ หรือ VTMS ได้ยกระดับการบริหารจัดการสู่ระดับสูงสุดหรือ คลาส เอ โดยระบบควบคุมการจราจรเรือสินค้า เข้า-ออกท่าเทียบเรือเป็นระบบดิจิตอลทั้งหมด ทำให้สถิติการเกิดอุบัติเหตุน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานในขั้นตอนการถ่ายสินค้า ซึ่งเมื่อเกิดเหตุขึ้นที่ท่าเรือจะวิทยุแจ้งมากยังศูนย์ VTMS ในเวลารวดเร็ว และสั่งการให้หยุดขนถ่ายสินค้าทันที ก่อนเข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

2. ระบบบริหารข้อมูลของท่าเรืออุตสาหกรรม (Port Management Information System: PMIS) และบริหารสัญญาท่าเทียบเรือรวมทั้งการจัดเก็บรายได้ ระบบสารสนเทศอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นการจัดการระบบการจัดเก็บรายได้และระบบบริหารข้อมูลของท่าเรือ ใช้ข้อมูลจากระบบ VTMS เพื่อใช้ในงานจัดเก็บรายได้ เพื่อความถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และดูแลบำรุงรักษาระบบ Hardware และ Software ของระบบ PMIS ให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถเชื่อมโยงกับระบบบัญชีของท่าเรือ

3. งานสำรวจความลึกของร่องน้ำและการบำรุงรักษาร่องน้ำทางเดินเรือ บริษัทฯ มีประสบการณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยในการสำรวจระดับความลึกของร่องน้ำทางเดินเรือทั้งหมดตลอดจนพื้นที่ท้องทะเลในเขตท่าเรือทั้งหมด เพื่อทราบความลึกและความกว้าง เป็นการสำรวจเพื่อวิเคราะห์สภาพอ่าวท่าเรือและร่องน้ำ รวมทั้งคำนวณหาปริมาณตะกอนดินที่ต้องขุดลอก พร้อมจัดทำแผนการบำรุงรักษาร่องน้ำเพื่อเสนอลูกค้าพิจารณาดำเนินการต่อไป

4. งานปฏิบัติการและบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกในน้ำ เช่น ทุ่นเครื่องหมายการเดินเรือ, หลักไฟนำร่อง, เรือ, โป๊ะเทียบเรือ ฯลฯ โดยบริหารจัดการดูแลรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวให้อยู่ในสภาพดีใช้งานได้ตลอดเวลา ดูแลร่องน้ำไม่ให้มีสิ่งกีดขวางการเดินเรือ และที่เป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

5. งานปฏิบัติการและบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกบนฝั่ง เช่น ถนน รางระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำทะเลอย่างต่อเนื่องอัตโนมัติ (Online) พื้นที่สีเขียว อาคารสถานที่ต่างๆ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ฯลฯ

6. งานบริหารและจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล  (ISO และ ISPS Code)

7. งานมวลชนสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์สำหรับท่าเรือ จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ในทุกกลุ่มเป้าหมายของการประชาสัมพันธ์ประกอบด้วย พนักงานสัมพันธ์ ลูกค้าสัมพันธ์ และ มวลชนสัมพันธ์ โดยใช้สื่อที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รายงานเรื่องร้องเรียนและประสานให้ข้อมูลแก่ชุมชนกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในพื้นที่ สรุปข้อคิดเห็นจากการปฏิบัติการและข้อเสนอแนะ เพื่อนำเสนอให้ลูกค้าทราบ

การให้การศึกษาและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทางด้านพาณิชย์นาวี

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของประเทศก็คือ บุคลากรในสายอาชีพที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถในสายอาชีพของตนอย่างถ่องแท้ ธุรกิจพาณิชย์นาวีก็เช่นกัน จะพัฒนาไปได้ก็ต้องมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ มีศักยภาพในการผลักดันฟันเฟืองของธุรกิจให้หมุนไปได้ บริษัทฯ มีบุคลากรที่เป็นวิทยากรมืออาชีพ มีประสบการณ์ทำงานในธุรกิจพาณิชย์นาวีโดยตรง ทั้งงานบนบก (งานท่าเรือ) และงานเรือ จึงมีความเข้าใจและสามารถเติมเต็มส่วนที่บกพร่องของลูกค้าได้ เรามีศักยภาพในการจัดหลักสูตร เพิ่มพูนความรู้ให้กับบุคลากรของลูกค้าตามความต้องการ