ระบบควบคุมจราจรทางน้ำ

ดาวน์โหลด

รายละเอียดคุณลักษณะของระบบ VTMS ที่ทางบริษัทฯ รับวางระบบ

ระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (Vessel Traffice Management System: VTMS)

ระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS) สำหรับท่าเรือเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้มีการจัดการหรือการควบคุมการจราจรทางน้ำ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ทางการเดินเรือ และความรวดเร็วต่อการคมนาคมขนส่งทางน้ำ ซึ่งการควบคุมจราจรทางน้ำนับได้ว่ามีความสำคัญและความจำเป็นเช่นเดียวกับการควบคุม จราจรในการคมนาคมประเภทอื่นๆ เนื่องจากเส้นทางการเดินเรือมีการแล่นสวนทางกันหรือแล่นตัดทางกันและหลบหลีกกันในสภาพพื้นที่จำกัดและมีความหนาแน่นของการจราจรทางทะเลในช่องทางเดินเรือ หากทำการเดินเรือโดยไม่มีการจัดการหรือควบคุมการจราจรทางน้ำ ก็มีโอกาสสูงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางน้ำได้ เช่น กรณีเรือโดนกัน กรณีเรือเกยตื้น เป็นต้น ดังนั้นเมื่อเรือหลายลำมีความต้องการใช้ร่องน้ำเดียวกัน มีกำหนดเวลาเดินเรือเดียวกัน การจัดการหรือ การควบคุมการจราจรทางน้ำให้เรือทุกลำเกิดความปลอดภัยได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยบุคคลและอุปกรณ์สื่อสารภาคพื้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยดำเนินการอย่างเป็น ระบบซึ่งเรียกว่า การบริการด้านการควบคุมการจราจรทางน้ำ (Vessel Traffic Service)

เรือทุกลำที่เข้ามาในเขตควบคุมของระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS) จะถูกตรวจติดตามความเคลื่อนไหวของเป้าตั้งแต่เข้าเขตจนกระทั่งเรือจอดเสร็จเรียบร้อย ด้วยอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ Radar, AIS, RDF, CCTV เป็นต้น เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการจราจรทางน้ำจะตรวจความเคลื่อนไหวของเรือเพื่อป้องกันเรือโดนกันหรือเรือเกยตื้น และเหตุอันตรายอื่นๆ และแจ้งเตือนเมื่อเกิดความเสี่ยงภัย นายเรือหรือผู้ควบคุมเรือจะเป็นผู้ตัดสินใจสั่งการ เพื่อหลบหลีกอันตรายต่อไป สามารถสรุปภารกิจของระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS) ได้ดังนี้

  • ควบคุมยานพาหนะประเภทเรือเดินทะเลที่เข้า/ออกท่าเรือ ให้ถูกต้องตามกฎข้อบังคับของท่าเรือ
  • ให้ข้อมูลข่าวสารการเดินเรือ สภาพอากาศ สภาพการจราจร อันตรายในการเดินเรือ
  • กำกับดูแลการเดินเรือให้ถูกต้องตามกฎการเดินเรือ และกฎระเบียบของท่าเรือ กฎหมายอื่นๆ เช่น ช่องทางจราจร เขตทอดสมอ เขตที่ตื้น ที่อันตราย
  • กำกับดูแลความปลอดภัยในการเดินเรือไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือเกยตื้น เรือโดนกัน เช่นในทัศนะวิสัยจำกัด เรือเครื่องจักรขัดข้อง เครื่องมือเดินเรือเสีย เรือเล็กที่กีดขวางทางเดินเรือ
  • ดูแลแก้ไขปัญหา เช่น เรือรั่วน้ำเข้าเรือ เรือจมใกล้ฝั่งหรือเขตท่าเรือ เรือไฟไหม้ เรือขอความช่วยเหลือทางการแพทย์
  • ติดตามเพื่อควบคุมการลักลอบทิ้งน้ำมันหรือน้ำเสีย
  • สนับสนุนข้อมูลสำหรับบริหารท่าเรือ และบริการต่างๆ แก่เรือ
  • สนับสนุนข้อมูลเรือต่างๆ แก่หน่วยงานอื่นๆ เพื่องานด้านความมั่นคง

หลักการของระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS)

กล่าวโดยหลักการแล้ว ระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS) คือ การบริหารการจราจรให้แก่เรือที่เดินทางผ่านพื้นที่ควบคุม ด้วยวิธีการสื่อสารและสั่งการทางวิทยุ ซึ่งรับผิดชอบโดยหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับบริหารการจราจรทางน้ำของท่าเรือตามที่กฎหมายให้ อำนาจในการควบคุมและข้อบังคับระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ที่มีไว้ระบบควบคุมการจราจร เป็นสิ่งที่ใช้กันมานานแล้วกับการสัญจรด้วย วิธีการอื่น เช่น การเดินรถไฟ การเดินรถ และการเดินอากาศ แต่สำหรับ การเดินเรือแล้ว เนื่องจากค่านิยมของนักเดินเรือที่ต้องการมีเสรีภาพใน การเดินเรือ ทำให้ระบบนี้เป็นที่ยอมรับปฏิบัติได้ยาก อย่างไรก็ตามหลังจากที่มีระบบดังกล่าวนี้ขึ้นในหลายประเทศ และเป็นที่พิสูจน์ว่าช่วยลดอุบัติภัยจากการสัญจรทางทะเลลงได้อย่างมีนัยสำคัญทำให้ระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS) เป็นที่ยอมรับและนำมาใช้ มากขึ้นเรื่อยๆ

การจัดระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS) ทำให้เกิดความปลอดภัยแก่ เรือ ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งปลูกสร้างในทะเล ช่วยลดโอกาสที่อุบัติภัยจะเกิดขึ้น และ ช่วยให้การเดินทางในทะเลเป็นไปอย่างประหยัดคุ้มค่า การนำเอาระบบนี้มาใช้ให้ได้ผลนั้น ผู้วางระบบต้องมีความเข้าใจในการทำงานของระบบอย่างถ่องแท้ มีการกำหนดกฎเกณฑ์ และระเบียบข้อบังคับต่างๆ เพื่อใช้ปฏิบัติ เนื่องจากระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS) มีหลายรูปแบบ หลายลักษณะแตกต่างกันไป ตามความจำเป็น และเหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่ ทั้งยังต้องใช้เงินลงทุนขั้นต้นจำนวนมาก การพิจารณานำมาใช้ในบริเวณใดจึงต้องมีประสิทธิผลคุ้มค่าแก่การลงทุน มิฉะนั้นแล้วระบบที่จัดขึ้นมาอาจล้มเหลวและสูญเปล่าไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่า

กรอบของระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS)

การวางระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS) ขึ้นมาให้ใช้ได้ผลอย่างสมบูรณ์นั้น กำหนดเป็นกรอบได้ดังนี้

1) กล่าวโดยทั่วไปแล้วระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS) หมายรวมถึงการเฝ้าตรวจพื้นที่รับผิดชอบเช่น บริเวณท่าเรือ และบริเวณใกล้เคียง ด้วยอุปกรณ์ชนิดต่างๆ คือ เครื่องเรดาร์ตรวจการณ์ เครื่องวิทยุรายงานตนอัตโนมัติ AIS (Automatic Identification System) เครื่องวิทยุหาทิศ RDF (Radio Direction Finder) กล้องอินฟราเรด กล้องโทรทัศน์ไวแสง เรือตรวจการณ์และอากาศยาน ซึ่งการที่จะบริหารการจราจรของพื้นที่ในระบบให้ได้ผลนั้น จำเป็นที่จะต้องทราบภาพรวมของพื้นที่ที่จะนำเอาระบบฯ มาใช้ว่ามีลักษณะอย่างไร ข้อมูลของพื้นที่เก็บไว้ในรูปสารสนเทศมูลฐาน และสามารถนำมาใช้สำหรับการ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือการตัดสินใจอย่างฉับพลัน หรือสำหรับการวางแผนระยะยาว อย่างไรก็ตามวิธีการเฝ้าตรวจนี้เป็นกระบวนการทางรับ ซึ่งจำเป็นต้องมี การประมวลผลข่าวสารที่ได้รับเข้ามาเสียก่อนจึงจะมีการตัดสินใจและสั่งการใดๆ ได้

2) ตามปกติแล้วสิ่งที่ควบคู่ไปกับระบบควบคุมการจราจร ทางน้ำ (VTMS) คือ แผนแบ่งแนวจราจร (Traffic Separation Scheme – TSS) ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นกำหนดแนวทางสัญจรของเรือต่างๆ ในทะเลเช่นเดียวกับเส้นแบ่งแนวจราจรที่ขีดลงบนพื้นถนนหลวง แผนแบ่ง แนวจราจรจะเป็นตัวกำหนดทั้งเวลาและพื้นที่สัญจรของเรือ กรณีของการ แบ่งเวลาสามารถกำหนดได้ง่าย เช่น กรณีช่องทางที่เดินได้ทางเดียวนั้นการกำหนดเวลาให้เรือเดินสามารถช่วยหลีกเลี่ยงการเดินเรือสวนทางกันได้สำหรับช่องทางที่กว้างพอให้เรือสวนทางกันได้นั้น เรือแต่ละลำต้องสวนทางกันโดยยึดหลักการพื้นฐานในการเดินเรือว่าเรือทุกลำต้องเดินทางขวาสวนกันด้วยมุมที่กระทำต่อกันเล็กที่สุด ตัดหน้ากันด้วยมุมใหญ่สุดโดยทุกกรณีต้องสอดคล้องกับกฎการเดินเรือสากล และต้องไม่กีดขวางผู้ใด แผนแบ่งแนวจราจรที่กำหนดขึ้นต้องสอดคล้องกลมกลืนกับการสวนการจราจรในพื้นที่นั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้

การรายงานของเรือ

การกำหนดให้เรือมีการรายงานตนเองมายัง ศูนย์ควบคุม(Vessel Traffic Center – VTC) เป็นผลจากการที่กำหนดให้มีแผนแบ่งแนวจราจรขึ้น ระบบการรายงานนี้ช่วยให้ศูนย์ควบคุมฯ สามารถแยกแยะเป้าในจอเรดาร์ได้ง่าย เรือที่ผ่านเข้ามาในพื้นที่ต้องแจ้ง การเข้า การออก เส้นทางผ่าน และการหันเลี้ยวของเรือ ขณะเดินทางเข้าสู่ที่จอดเรือหรือที่ทอดสมอ และกำหนดเวลาเดินทางออกจากพื้นที่ การรายงานของเรือนี้อาจนำมาใช้ทดแทนเรดาร์หรือระบบเฝ้าตรวจอื่นๆ โดยอาจใช้เป็นบางส่วนหรือทั้งหมดเลยก็ได้ การรายงานนี้ให้ผลดีมากขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับเรดาร์ หรือมาตรการทางเทคนิคอื่นๆ ถ้าต้องการระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS) ที่เข้มงวดแล้ว ต้องมีมาตรการบังคับควบคู่ไปกันไปด้วย สิ่งนี้นับว่าเป็นส่วนยากที่สุดของระบบฯ เพราะว่าเรือบางลำมักละเมิดกฎหรือไม่ตอบสนองต่อคำแนะนำของศูนย์ควบคุมฯ มาตรการตอบโต้การละเมิดต้องได้สัดส่วนที่เหมาะสม วิธีการที่ได้ผลที่สุดคือบังคับด้วยการใช้เรือตรวจการณ์ หรือใช้มาตรการลงโทษเช่น ไม่อนุญาตให้เข้าในเขตท่าเรือ หรือที่ทอดสมอ เป็นต้นในระบบต้องมีวิทยุย่านความถี่สูง (Very High Frequency – VHF) ภาค FM อย่างพอเพียงสำหรับการใช้ติดต่อระหว่างเรือกับศูนย์ควบคุมฯ โดยใช้ภาษาพูดแบบธรรมดาแบบพื้นๆ เข้าใจง่าย เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมฯ ต้องมีความรู้ด้านการพูดทั้งภาษาพื้นเมือง และภาษาอังกฤษอย่างพอเพียงที่จะติดต่อสื่อสารกับเรือได้อย่างชัดเจนเนื่องจากในปัจจุบันภาษาอังกฤษได้กลายเป็นภาษาแห่งท้องทะเล และใช้กันมากที่สุดกับระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS) เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมฯจึงต้องมีการฝึกฝนภาษาอังกฤษและมีความเข้าใจศัพท์เทคนิคของชาวเรือเป็นอย่างดีในระบบฯ นี้ เรือทุกลำที่เข้ามาในเขตควบคุมต้องมีการเฝ้าฟังวิทยุตามคลื่นที่กำหนด การสื่อสารจะมีประสิทธิผลก็ต่อเมื่อทั้งเรือและศูนย์ควบคุมฯ มีการโต้ตอบกัน มิฉะนั้นแล้วระบบที่มีราคาแพงนี้ก็ไม่มีผลในการส่งเสริมความปลอดภัยในการจราจรทางน้ำแต่อย่างใด

ลักษณะโดยทั่วไปของระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS)

ระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS) มีจุดประสงค์เพื่อใช้ควบคุมการจราจรทางน้ำให้มีความปลอดภัย เพิ่มประสิทธิภาพในการเดินเรือ ตลอดจนป้องกันมลภาวะในทะเล โดยให้ข้อมูลข่าวสารจากการติดตามเรือเป้าหมายในบริเวณพื้นที่ควบคุมด้วยระบบเรดาร์ ซึ่งองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ(IMO – International Maritime Organization) ก็แนะนำให้ใช้ระบบนี้ ระบบฯ นอกจากช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเดินเรือ และการป้องกันสภาพแวดล้อมแล้วยังมีประโยชน์ในด้านการรักษาความปลอดภัยบริเวณชายฝั่งและสิ่งก่อสร้างใกล้ฝั่ง การติดตามด้านอุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์ และควบคุมการกระทำที่ผิดกฎหมายระบบนี้อาจประกอบไปด้วยเครือข่ายที่มีศูนย์ควบคุมฯ กระจายอยู่ตามบริเวณเส้นทางหรือท่าเรือ โดยแต่ละศูนย์ควบคุมฯ มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกันเกี่ยวกับเรือที่ผ่านหรือเข้ามาเทียบท่าเรือ โครงสร้างของระบบฯ ประกอบไปด้วย

  • ศูนย์ควบคุมการจราจร
  • สถานีเรดาร์สาขา
  • แผนแบ่งแนวจราจร

สถานีเรดาร์สาขาเชื่อมโยงกับศูนย์ควบคุมฯ ด้วยสายโทรศัพท์ ไมโครเวฟ หรือใยแก้วนำแสง แต่ถ้าเป็นระบบฯ ที่มีศูนย์ควบคุมฯ แห่งเดียวแล้วตามปกติสถานีเรดาร์ก็สนธิเป็นส่วนหนึ่งของระบบนั้น

ศูนย์ควบคุมการจราจรทางน้ำมีการปฏิบัติงาน 24 ชั่วโมง เพื่อติดต่อสื่อสาร
กับเรือในการให้ข้อมูล คำแนะนำ และคำเตือนต่างๆ ทางวิทยุระบบ VHF อุปกรณ์หลักของศูนย์ควบคุมประกอบด้วย

1) ระบบเรดาร์

2) ระบบเครื่องวิทยุรายงานตนอัตโนมัติ AIS (Automatic Identification
System)
3) ระบบเครื่องวิทยุหาทิศ RDF (Radio Direction Finder)
4) ระบบวิทยุสื่อสารย่าน VHF
5) เครื่องบันทึกเสียงการสื่อสารระหว่างศูนย์ควบคุมกับเรือ
6) เครื่องมือตรวจวัดสภาพทาง อุตุนิยมวิทยา และอุทกศาสตร์ ซึ่งแสดงผล
ตามเวลาจริงด้วยมาตรแสดงผลในศูนย์ควบคุมฯ
พร้อมเครื่องบันทึกข้อมูลแบบอัตโนมัติ

7) กล้องสองตา
8) กล้องอินฟราเรด
9) กล้องโทรทัศน์ไวแสงพร้อมจอแสดงภาพ
10) กระดานแสดงสถานการณ์รวมของพื้นที่
11) คอมพิวเตอร์สำหรับเก็บและประมวลผลข้อมูล

การจัดบุคลากรประจำศูนย์ควบคุมการจราจรทางน้ำ

การปฏิบัติงานในศูนย์ควบคุมในวงรอบ 24 ชั่วโมง แบ่งออกเป็นผลัดหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันปฏิบัติหน้าที่ โดยแต่ละผลัดมีเจ้าหน้าที่ดังนี้
1) หัวหน้าชุดปฏิบัติงาน
2) พนักงานเรดาร์
3) พนักงานวิทยุ
4) พนักงานคอมพิวเตอร์
6) ช่างซ่อมบำรุง
7) เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์

เจ้าหน้าที่ลำดับ 2-3 ควรต้องเป็นผู้ที่เคยปฏิบัติงานในเรือมาไม่น้อยกว่า 3 ปี ลำดับ 1 ควรผ่านงานมาไม่น้อยกว่า 5 ปี และเคยดำรงตำแหน่งต้นเรือ หรือ ผู้บังคับการเรือมาก่อน ด้วยเหตุผลที่ว่า บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ให้คำแนะนำ และควบคุมการจราจรทางเรือ จึงจำเป็นที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของเรือ และการปฏิบัติงานในเรือเป็นอย่างดีมาก่อน การสั่งการใด ๆ ของผู้ควบคุมที่มีพื้นฐานด้านการเดินเรือมาเป็นอย่างดีเท่านั้นที่จะทำให้ภารกิจของระบบฯ เป็นไปได้อย่างปลอดภัย

สรุปภารกิจหลักของระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS)

  1. Information Service คือ ภารกิจให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ ตำบลที่เรือ ชื่อเรือลำอื่นและความตั้งใจของเรือแต่ละลำ สภาพร่องน้ำทางเดินเรือ สภาพอากาศ ภัยอันตราย ฯลฯ
  2. Navigational Assistance Service คือภารกิจให้ความช่วยเหลือใน สถานการณ์สำคัญๆ หรือในสถานการณ์ยากลำบากเกี่ยวกับการเดินเรือสภาพอากาศ เรือลำใดลำหนึ่งเกิดข้อขัดข้องฉุกเฉิน ฯลฯ
  3. Traffic Organization Service คือ ภารกิจเกี่ยวกับ การปฏิบัติการ หรือ การบริหารจัดการการจราจรทางน้ำ เพื่อมิให้การจราจรคับคั่งเกินไปหรืออยู่ในสถานการณ์อันตราย ด้วยการกำหนดตารางเวลาการเคลื่อนเดินของเรือกำหนดระยะห่าง รายงานสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของเรือในพื้นที่รับผิดชอบกำหนดเส้นทางเดินเรือ จำกัดความเร็ว ฯลฯ

ทั้ง 3 ภารกิจของระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS) จะมีการส่งและรับข้อความ ที่มีลักษณะเป็น “Question” ,“Instruction” , “Advice” , “Request” , “Information” , “Warning” และ “Intention” ซึ่งทั้ง 7 ลักษณะต่างล้วนมีการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการเดินเรือตามปกติของเรือที่เกี่ยวข้องทุกกรณี มากบ้าง น้อยบ้างแตกต่างกันออกไป ดังนั้นในการปฏิบัติภารกิจของระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS) จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดขอบเขตแนวทางการปฏิบัติและรายละเอียดการปฏิบัติให้ VTS Operators ทราบอย่างชัดเจน ซึ่งส่วนหนึ่งกระทำได้ด้วยการ กำหนดให้มีหลักสูตรศึกษาอบรม VTS Operators และอีกส่วนหนึ่งจะถูกกำหนดโดยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อความ ถูกต้อง สมบูรณ์ กระชับฉับไว รวมทั้งเพื่อ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดของระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS)

ปัญหาของระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS)

ในปัจจุบันนี้ข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดของระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ (VTMS) ในหลายๆ ประเทศคือ การขาดกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับที่นำมาใช้สำหรับการวางระบบ และคุณภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลระบบ กล่าวโดยสรุปได้ว่าความสำเร็จของระบบฯ มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ผู้กำหนดนโยบายให้มีระบบขึ้นมาซึ่งต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงการทำงานของระบบ ฯ อันนำไปสู่การจัดวางระบบที่เหมาะสม มีการจัดบุคลากรที่ถูกต้องกับงานที่รับผิดชอบมีการฝึกหัดศึกษาที่มีคุณภาพ และที่สำคัญที่สุดคือต้องมีกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่รองรับระบบฯ ที่จะให้มีขึ้นอย่างสมบูรณ์

ภาพรวมของระบบ

ระบบควบคุมจราจรทางน้ำ
ระบบควบคุมจราจรทางน้ำ

The block scheme of dKart Port Monitoring System is shown in Figure below in its complete configuration.Each kind of an external sensor (radar, AIS transponder, CCTV camera) forms the basis of a dedicated sub-system of the System. We present below brief descriptions of each in the text of this section below together with the description of general System services (EN charts database, playback function, etc.).

จอภาพควบคุมและแสดงผล

dKart Monitoring Display (Operator Display Unit, ODU) is the kernel of the System. Its purpose is to display info arriving from the sensors of the System on the background of electronic charts. The Display can also be used to control remote sensors and information exchange within the System in general.

The key functions of dKart Monitoring Display are:

  • Display of info arriving from the sensors of the System on the monitor screen on the background of electronic charts
  • Recognition and monitoring of objects within the System range
  • Radar image overlay
  • AIS targets display
  • Remote sensor control
  • CCTV tracking of targets
  • Warning/Alarm generation according to user-defined criteria
  • Recording and replay of navigational situations and radio communications

The System may comprise an arbitrary number of Displays according to the customer’s demand. Each workstation on which dKart Monitoring Display software is installed can be configured independently regarding connections to databases of the System, access rights, available functionalities and specification of info to be shown/hidden on the screen.

ขีดความสามารถของระบบเรดาร์

ระบบควบคุมจราจรทางน้ำ

dKart Monitoring Display can receive info from both local and remote radars. The operator is also given functionalities to control radar performance. Radar info is processed using Radar Processors (RP) from prominent producers. RP types are chosen according to the System performance specific features at the customer’s. Both “raw” and synthesized radar image can be laid over electronic charts, e.g. including recognized (automatically or manually) target parameters. Meanwhile, safety and radiolocation support tasks can also be resolved using the “on chart” technique. Radar info can be considered trustworthy and reliable at the most due to robust processing algorithms used with the RPs

CCTV ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด

Use of dKart Monitoring Display allows connection to a video camera. Remote control functionalities are also provided, as well as the automatic focusing function at a selected vessel and further tracking it in such a way that the vessel image stays constantly on the screen. Targeting the camera can be done directly using the “on chart” technique, and so can other settings too.
The CCTV subsystem is intended to support port monitoring with visual image of the surveyed area. The System allows connection to up to 4 CCD video cameras each of which can be independently controlled by the ODU operator using the “on chart” technique regarding the zoom, tilt, etc. CCTV image can be shown on a dedicated ODU or in a dedicated TV window on the central ODU, in which access to CCTV related functionalities is provided through a graphic user-friendly interface.

ฐานข้อมูลของระบบ

The System uses the Central Database (Database of Navigational Situation) for storing all info related to sea traffic monitoring (e.g. tracked target coordinates, speeds and courses, special area coordinates and sailing conditions, etc.). Components of the System get necessary info by sending queries to the Central Database. The architecture like this automatically ensures consistency of info in all components of the System.
A rich functionality is offered to construct a wide variety of queries. Info returned by a query allows adjustable “on chart” and “in table” presentations.
The Central Database resides on a MS SQL or Oracle DB platform.
In fact, the Central Database is an aggregation of dedicated sub-databases, such as:
– Radar targets DB
– AIS targets DB
Separate storage of info about AIS and radar targets makes it possible to replay navigational situation exactly in its original view and distinguish between different targets or integrate identical ones using target integrator as Figure below.

ขีดความสามารถของระบบ AIS

aistrack,ระบบควบคุมจราจรทางน้ำ

Much like with radars, dKart Monitoring Display can receive info from both local and remote AIS base stations and control their performance. Moreover, target related info can also be received from other VTMS systems and even from foreign monitoring systems. Graphic interface of AIS target monitoring software has been developed following the general principles typical for most MS applications.

AIS info is continuously saved into the Central Database for further replay.

Charts ระบบแผนที่อิเล็กทรอนิกส์

The System can display electronic charts in various formats, CM93/3 among them as one of the most popular. Having got type approval from IHO, CM93/3 can equally be used as a transfer format of data produced by C-MAP and national Hydrographic Offices. Data are so highly compressed by CM93/3 that one CD is enough for the complete world coverage. A C-MAP subscriber gets access to a unique real-time chart updating service.
Besides, with dKart Monitoring Display software S-57/3-formatted charts produced by national HOs are available directly, Figure 7. Updating service for S-57/3 charts is also provided on the basis of new info from these HOs.

Using a built-in graphic editor allows manipulation with user-defined objects (areas, sings, etc.) “laid over” official charts.
Charts are stored in a centralized database at the System’s server being equally available to all components of the System. Storing scheme like this saves space on the HDDs and ensures consistent updating.

การแสดงภาพย้อนกลับ

Since all info coming into the System is continuously saved into the Central Database, it can
be replayed exactly in its original form. The fragment of info to be replayed can be defined by:
– Area
– Time/ Date
– Ship’s name
– MMSI
– Call sign

While replay is running, the user can adjust presentation of info on the screen e.g. moving significant details to the fore ground and hiding others, etc. Original alarms and radio communications are replayed too synchronized with the picture on the screen. Time limit for info recording/replay depends only on the info carrier memory size and can be set by the operator. Automatic back-up function increases safety of info even more.

The function is realized through a Windows-type graphic user-friendly interface. Replay on the
chart is supported by the logbook shown in a tabular form.

การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หลัก

Modular approach underlies the architecture of the System. This means that the System is built from dedicated units (hard- and software), or sub-systems, in a way matching the customer’s requirements.
Besides, modular architecture of dKart Port Monitoring System allows integration with analogous systems by other producers already installed at the customer’s so that overall technical capabilities increase greatly.

The key Subsystems are:
– Radar                                – AIS                                – Database
– CCTV                                – VHF                               – Direction Finder
supported by the most popular auxiliary subsystems
– Weather database                              – Internet                              – Others
Each Subsystem implements an independent technological solution, which interacts with the other subsystems via standard interfaces, and this is exactly what makes customization of the System possible. For example, the System can be configured to receive signals from local or remote sensors, execute remote sensor diagnostics and control, use various data links, etc. Upgrading the System is easy too due to its modular architecture.

บริษัท เอ. แอนด์ มารีน (ทย) จำกัด ได้รับความไว้วางใจในการติดตั้งระบบบริหารจัดการควบคุมการจราจรทางน้ำ Vessel Traffic Management System (VTMS) เพื่อดำเนินการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพรองรับการให้บริการในหลายๆ หน่วยงาน โดยมีรายละเอียดการติดตั้งอุปกรณ์ในระบบ VTMS ดังนี้

#1 เรดาร์ประจำสถานีพร้อม ชุดเชื่อมต่อสัญญาณและอุปกรณ์ประกอบ ระบบ ป้องกันไฟ

#2 เครื่องรับ-ส่งสัญญาณแสดงตนอัตโนมัติ ชุดสถานีผิง (AIS Base Station) รองรับการเข้ารหัสทางการทหาร รวมถึงโครงสร้าง การติดตั้ง และอุปกรณ์ประกอบ

#3 โปรแกรมควบคุมการจราจรทางน้ำ (Vessel Traffic Management system : VTMS) พร้อมเครื่องแม่ข่าย ประมวลผลหลัก ประมวลผลผ่าน Web Server ฐานข้อมูล

#4 เครื่องแสดงผลและควบคุมการทำงาน (Operation Display Unit) สำหรับผู้ปฏิบัติงานพร้อมจอภาพ

#5 เครื่องประมวลผลสำหรับดูข้อมูลเรือย้อนหลัง (Playback)

#6 เครื่องรับ-ส่งวิทยุย่านความถี่ Marine Band VHF/DSC พร้อมอุปกรณ์

#7 เครื่องรับ-ส่งวิทยุยนความถี่ Marine Band แบบมือถือพร้อมอุปกรณ์

#8 เครื่องรับ-ส่งวิทยุย่านความถี่ CB 27MHz พร้อมอุปกรณ์

#9 เครื่องหาตำบลที่ด้วยดาวเทียม (GPS) พร้อมอุปกรณ์

#10 ชุดวัดสภาพอากาศ (Weather Sensor) พร้อมอุปกรณ์

#11 ระบบ CCTV สำหรับบริหารท่าเรือระยะใกล้ ติดตามเป้าร่วมกับโปรแกรมควบคุมการจราจรทางน้ำ