โครงการปักไม้ไผ่

ดาวน์โหลด

รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะปักไม้ไผ่

ประเทศไทยมีแนวชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 3,148.23 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ชายฝั่งรวม 23 จังหวัด ประกอบด้วยชายฝั่งด้านอ่าวไทยคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด ยาวประมาณ 2,055 กิโลเมตร และชายฝั่งด้านทะเล   อันดามันคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ยาวประมาณ 1,093.43 กิโลเมตร ในปัจจุบันพื้นที่ชายฝั่งทะเลถูกใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เช่น จากกิจกรรมการท่องเที่ยวและนันทนาการ การประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอยู่อาศัยของชุมชนริมทะเล อุตสาหกรรม ท่าเรือ การคมนาคมทางน้ำ เป็นต้น ชายฝั่งทะเลจึงมีความสำคัญในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผลกระทบ อันเนื่องมาจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและคุณภาพสิ่งแวดล้อมของระบบนิเวศ ทางทะเลและชายฝั่งที่สูญเสียความสมดุล โดยปัจจัยซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล   มาจากกระบวนการทางธรรมชาติและจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ กระแสน้ำขึ้นน้ำลง คลื่นลม  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาวะโลกร้อน ผลกระทบของน้ำทะเลสูงขึ้น ความเร็วของทิศทางและ ความแปรปรวนของกระแสน้ำที่ส่งผลให้ตะกอนถูกพัดพาและการรักษาสมดุลธรรมชาติเปลี่ยนแปลง จึงเป็นที่มาของปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนโดยเฉพาะที่อยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหากัดเซาะรุนแรง ซึ่งรัฐบาล ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง จึงได้กำหนดให้การกัดเซาะชายฝั่งเป็นหนึ่งในเก้านโยบาย/ยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาลที่จะต้องมีการบูรณาการของทุกภาคส่วนและจัดการงบประมาณในเชิงบูรณาการ

 

โครงการปักไม้ไผ่

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้วิธีการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น
  2. เพื่อลดการสูญเสียชายฝั่งทะเล และเพิ่มพื้นที่บริเวณด้านหลังแนวปักไม้ไผ่
  3. เพื่อให้ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  4. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ป้องกัน และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ให้ชุมชนตระหนักถึงความ สำคัญของระบบนิเวศของชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน ให้มีความอุดมสมบูรณ์ปราศจากมลภาวะและก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
  5. เพื่อเพิ่มปริมาณและเพิ่มประสิทธิภาพของแนวปักไม้ไผ่เป็นแนวชะลอคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง และเป็นแนวกันขยะทะเลลดกระแสคลื่น ลดเศษสวะ – ขยะมูลฝอยที่เข้าสู่ฝั่งและป่าชายเลน
  6. เพื่อลดเศษสวะ – ขยะมูลฝอยที่เข้าป่าชายเลนโดยใช้วิธีการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น

1. โครงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยการปักไม้ไผ่และพันธุ์ไม้ป่าชายเลน

ความยาว 1,030 เมตร จำนวนไม้ไผ่ 36,050 ลำ พร้อมป้ายโครงการและบรรทัดวัดตะกอนเลน ณ บ้านพรงสน หมู่ที่ 8 ตำบลบางปิด อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ส่งมอบ จังหวัดตราด

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2559

โครงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยการปักไม้ไผ่และพันธุ์ไม้ป่าชายเลน1

โครงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยการปักไม้ไผ่และพันธุ์ไม้ป่าชายเลน1

2.โครงการปักไม้ไผ่เพื่อลดกระแสคลื่นและลดเศษสวะ – ขยะมูลฝอยที่เข้าป่าชายเลน

ระยะทาง 2,630 เมตร จำนวนไม้ไผ่ 73,640 ลำ ณ บริเวณชายฝั่งทะเล ตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ส่งมอบ สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2560

โครงการปักไม้ไผ่เพื่อลดกระแสคลื่นและลดเศษสวะ – ขยะมูลฝอยที่เข้าป่าชายเลน1

โครงการปักไม้ไผ่เพื่อลดกระแสคลื่นและลดเศษสวะ – ขยะมูลฝอยที่เข้าป่าชายเลน1

โครงการปักไม้ไผ่เพื่อลดกระแสคลื่นและลดเศษสวะ – ขยะมูลฝอยที่เข้าป่าชายเลน3

โครงการปักไม้ไผ่เพื่อลดกระแสคลื่นและลดเศษสวะ – ขยะมูลฝอยที่เข้าป่าชายเลน3

โครงการปักไม้ไผ่เพื่อลดกระแสคลื่นและลดเศษสวะ – ขยะมูลฝอยที่เข้าป่าชายเลน3

โครงการปักไม้ไผ่เพื่อลดกระแสคลื่นและลดเศษสวะ – ขยะมูลฝอยที่เข้าป่าชายเลน3

3. โครงการปักไม้ไผ่ตามแนวชายฝั่ง

ความยาว 600 เมตร ไม้ไผ่จำนวน 6,000 ลำ ณ บริเวณชายฝั่งทะเล ตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ส่งมอบ สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2559

โครงการปักไม้ไผ่ตามแนวชายฝั่ง1

โครงการปักไม้ไผ่ตามแนวชายฝั่ง5

โครงการปักไม้ไผ่ตามแนวชายฝั่ง2

โครงการปักไม้ไผ่ตามแนวชายฝั่ง4

โครงการปักไม้ไผ่ตามแนวชายฝั่ง6

4. โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจังหวัดระยอง

ณ บริเวณชายฝั่งทะเล หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 7 ตำบลปากน้ำประแสร์ อำเภอแกลงจังหวัดระยอง ระยะทาง 1,000 เมตร และบริเวณชายฝั่งทะเล หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 8 ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ระยะทาง 2,000 เมตร จำนวนไม้ไผ่ 132,090 ลำ ส่งมอบ สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2559

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจังหวัดระยอง1

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจังหวัดระยอง3

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจังหวัดระยอง5

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจังหวัดระยอง7

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจังหวัดระยอง1

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจังหวัดระยอง4

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจังหวัดระยอง6

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจังหวัดระยอง8

5.โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

ความยาว 1,400 เมตร จำนวนไม้ไผ่ 49,000 ลำ พร้อมป้ายโครงการและบรรทัดวัดตะกอนเลน ณ บ้านเปร็ดใน หมู่ที่ 2 ตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ส่งมอบ จังหวัดตราด โดย สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตราด

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2560

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง2

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง4

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง6

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง3

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง7

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง5

6.โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจังหวัดระยอง

ความยาว 1,955 เมตร จำนวนไม้ไผ่ 68,425 ลำ ณ หมู่ 7 ตำบลปากน้ำประแสร์ และหมู่ 4 หมู่ 5 ตำบลคลองปูน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ส่งมอบ จังหวัดระยอง โดย สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2560

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจังหวัดระยอง1

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจังหวัดระยอง 3

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจังหวัดระยอง 7

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจังหวัดระยอง1

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจังหวัดระยอง 4

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจังหวัดระยอง 6

โครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจังหวัดระยอง 8