ระบบ AIS หรือ UAIS อุปกรณ์แสดงตนอัตโนมัติที่ใช้สำหรับในกิจการ เดินเรือภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ

Container Ship

marinthai-ais-class-a

อุปกรณ์แสดงตนอัตโนมัติ

ระบบ AIS (Automatic Identification System)หรือ UAIS (Universal Automatic Identification System)เป็นระบบหรืออุปกรณ์แสดงตนอัตโนมัติที่ใช้สำหรับในกิจการ เดินเรือภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ โดยกำหนดให้ เรือเดินทะเลระหว่างประเทศขนาดตั้งแต่ 300 ตันขึ้นไปและเรือเดินทะเลที่ไม่ได้เดินทางระหว่างประเทศขนาดตั้งแต่ 500 ตันขึ้นไป ต้องติดตั้งระบบ AIS ซึ่งอยู่ภายใต้กำหนดของ หน่วยงานทางทะเลระหว่างประเทศ IMO (International Maritime Organization) ตั้งแต่ช่วงต้นปี ค.ศ.2002 ด้วยการส่งสัญญาณวิทยุย่าน VHF แบบอัตโนมัติต่อเนื่อง

ais-class-a-marinethai

เพื่อแจ้งข้อมูลและตำบลที่ของตัวเองให้กับอุปกรณ์ AIS อื่นๆ ที่ติดอยู่กับเรือหรือสถานีชายฝั่งใกล้เคียงระบบ AIS เป็นระบบสื่อสาร เพื่อการแจ้งแสดงตัวตนระหว่าง เรือกับเรือ และเรือกับสถานีฝั่ง เพื่อช่วยให้มีความปลอดภัย ในการเดินเรือมากขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการควบคุมจราจรทางน้ำในระบบ VTS (Vessel TrafficControl System) ในการตรวจตราเรือที่เดินทางอยู่ภายในบริเวณรับผิดชอบให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมระบบ AIS เป็นการรับ-ส่งสัญญาณภายใต้คลื่นวิทยุข่าย
VHF Maritime Band มีขีดความสามารถในการส่งข้อมูลต่างๆ ของเรือจากเรือที่ติดตั้งอุปกรณ์ AIS ไปยังสถานีชายฝั่งหรือเรือที่อยู่ใกล้เคียงเรือทุกลำที่อยู่ในรัศมีของวิทยุ VHF Automatic ทราบตำบลทีอ่ ยแู่ ละข้อมูลของเรือลำ ที่ติดตั้งอปุ กรณ์ AIS นั้นได้ตลอดเวลาสำหรับการติดตามและระวังมิให้เกิดอุบัติเหตุ
ชนกัน หรือบอกข้อมูลให้กับสถานีชายฝั่งที่ติดตั้งระบบ VTS  ใช้ในการควบคุมการสัญจรของเรือในร่องน้ำหรือเรือขณะ เข้าออกจากท่าเทียบเรือ

ข้อมูลที่มีการรับ-ส่งในระบบAIS ได้แก่

  • หมายเลข IMO Number
  • นามเรียกขานของเรือ
  • ชื่อเรือ (Vessel Name)
  • ชนิดของเรือ (Vessel Type)
  • ขนาดของเรือ (Dimension)
  •  ตำแหน่งของเรือ (LAT/LONG) เวลาล่าสุด
  • ทิศทางการเดินเรือ (Course)
  • ความเร็วเรือ (Speed)
  • อัตราการเลี้ยว (RoT – Rate of Turn)
  • ทิศหัวเรือ (เข็มเรือจากเข็มทิศไยโร) (Heading)
  • อัตราการกินน?้ำของเรือ (Draught)
  • ชนิดของระวางสินค้า (Cargo Type)
  • จุดหมายปลายทาง (Destination)
  • วันเวลาที่จะเดินทางถึงจุดหมาย (ETA)

คลื่นความถี่ของ AIS ตามมาตรฐานของ ITU
กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ 161.975MHz (ช่อง 87B)
สำหรับ AIS ช่องที่ 1 และ 162.025MHz (ช่อง 88B)
สำหรับ AIS ช่องที่ 2 พื้นที่ครอบคลุมในการส่งกระจายข่าว
ของอุปกรณ์ AIS ของแต่ละลำจะอยู่ในรัศมีของระยะคลื่น
VHF ซึ่งขึ้นอยู่กับความสูงของเสาอากาศ โดยปกติแล้วมี
ระยะครอบคลุมประมาณ 30 ไมล์ทะเลจากอุปกรณ์ AIS

สถานีควบคุมหลัก (AIS Base Station)

ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลระหว่างเรือ สถานีควบคุมย่อย
สถานีลูกข่าย ส่งผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ เพื่อนำเอา
ข้อมลูเรือทุ่นทำเครื่องหมาย มาประมวลผล บันทึก และแสดง
ผลบนแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ สถานีควบคุมสามารถนำข้อมูล
เรือที่บันทึก มาทำการแสดงข้อมูลย้อนหลัง (Play Back)
เพื่อแสดงประวัติเรือเข้าออกได้

สถานีควบคุมย่อย (Remote Site)

มีหน้าที่รับสัญญาณข้อมูลเรือ ที่ห่างจากสถานีควบคุม
เกิน 30 ไมล์ นำมาแสดงผล บันทึกและส่งสัญญาณผ่าน
ระบบทวนสัญญาณหรือผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไปยัง
สถานีควบคุมหลัก เพื่อประมวลผล บันทึกและแสดงผลบน
แผนที่อิเล็กทรอนิกส์มาทำการแสดงข้อมูลย้อนหลัง (Play
Back)เพื่อแสดงประวัติเรือเข้าออกได้

ประโยชน์ที่จะได้รับจาก AIS

ด้านเศรษฐกิจ เป็นหลักประกันในด้านความปลอดภัย
ในการเดินเรือตามระบบมาตรฐานสากล
ด้านความมั่นคง เป็นการควบคุมเรือพาณิชย์และการ
ตรวจการณ์ชายฝั่ง รวมทั้งควบคุมและตรวจสอบ
เครื่องหมายทางเรืออีกด้วย

general-ais-system-marinethai

027035544marinethaistorespurpletracss